AWC

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ AWC Wellness Clinic แนะหลัก 8 อ. เสริมภูมิต้านทานโรค

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ AWC Wellness Clinic แนะหลัก 8 อ. เสริมภูมิต้านทานโรค

เป็นที่ทราบกันดีว่าสถานการณ์การติดเชื้อโควิด 19 ในประเทศไทยนั้นกำลังเข้าสู่ภาวะที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ประกอบ กับการเข้าถึงวัคซีนที่มีประสิทธิภาพนั้นอาจใช้เวลานานกว่าที่ได้มีการคาดการณ์ไว้ในช่วงแรก พญ. พัชรนันท์ ศรีพัฒนวัฒน์ หรือคุณหมอซี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพประจำคลินิกดูแลสุขภาพ

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ AWC Wellness Clinic แนะหลัก 8 อ. เสริมภูมิต้านทานโรค

อาหาร
ออกกำลังกาย
เอนกาย
อารมณ์
อากาศ
เอาพิษออก
อาชีพ
อิทธิบาท 4

AWC Wellness Clinic ได้ให้คำแนะนำว่า
ในสถาการณ์ที่คาดไม่ถึงนี้ เราจำเป็นจะต้องพร้อมรับมือกับโรคร้ายอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติตัวตามมาตรการการป้องกันการแพร่เชื้ออย่างเคร่งครัด ไปจนถึงการเตรียมความพร้อมให้กับ ร่างกายด้วยการเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรงอยู่เสมอ ซึ่งภูมิต้านทานของร่างกายคนเราเปรียบเสมือนปราการ ด่านแรกที่สามารถช่วยปกป้องร่างกายของเราจากสิ่งแปลกปลอมภายนอกไม่ว่าจะ เป็นไวรัส แบคทีเรีย หรือสารพิษต่างๆ ที่สามารถก่อให้เกิดการเจ็บป่วยได้ การเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายมีอยู่หลากหลายวิธี ซึ่งคุณหมอซี ได้แนะนำ “หลัก 8 อ.” ที่ตัวคุณหมอเองปฏิบัติเป็นประจำ ซึ่งนอกจากจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงแล้ว หลัก 8 อ. นี้ยัง สามารถช่วยลดความรุนแรงและภาวะการแทรกซ้อนของการติดเชื้อได้อีกด้วย

  1. อาหาร
    หลักแรกที่เราควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือการรับประทานอาหาร คุณหมอซีแนะนำว่าเราควรจะรับประทานอาหารให้ ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานอาหารที่หมุนเวียน สามารถเสริมด้วยอาหารที่ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย ไม่ว่า จะเป็นอาหารและผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี อาทิ ส้ม มะละกอ ฝรั่ง กีวี สตรอเบอร์รี่ มะขามป้อม พริกหยวก ผักโขม ผักคะน้า และ บร็อคโคลี่ สมุนไพรไทยที่ช่วยเสริมภูมิ เช่น กระชาย กระเทียม ขิง ข่า ตะไคร้ และ พริก หรืออาหารที่ อุดมไปด้วยไขมันดี เช่น น้ำมันมะกอก อะโวคาโด และปลาทะเลน้ำลึก และเหนือสิ่งอื่นใดควรจะให้ความสำคัญกับการ ดื่มน้ำให้เพียงพอ นอกจากนี้คุณหมอซียังแนะนำว่าเพื่อให้ภูมิคุ้มกันสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควรลดหรืองด การบริโภคอาหารที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพอาทิ อาหารมัน อาหารทอด อาหารที่มีรสเค็มจัด อาหารหรือของหวานที่มีน้ำตาล ปริมาณมาก และอาหารแปรรูป
  2. ออกกำลังกาย
    สำหรับการออกกำลังกายนั้น เราควรหมั่นออกกำลังกายหรือขยับร่างกายอยู่สม่ำเสมอเพราะนอกจากจะสามารถช่วย เสริมสร้างให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงแล้ว การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคหัวใจ ไขมันในเส้นเลือด ความดัน และ เบาหวาน แนะนำว่าถ้าหากต้องการป้องกันความเสี่ยง ในการติดเชื้อจากการออกกำลังกายกลางแจ้งในที่สาธารณะ ปัจจุบันนี้เราสามารถออกกำลังกายที่บ้านได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกายตามวิดีโอ การออกกำลังกายผ่านวิดีโอคอลกับเทรนเนอร์ส่วนตัวหรือการออกกำลังกาย ร่วมกับผู้อื่นในรูปแบบของกรุ๊ปคลาส การเล่นเกมส์ที่มีการเคลื่อนไหวร่างกาย การกระโดดเชือก การเล่นโยคะ หรือการก้าว ขึ้นลงบันได สำหรับการออกกำลังกายกลางแจ้งสามารถทำได้แต่แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายกลางแจ้งใน สถานที่ที่มีคนแออัด อย่างไรก็ตามแนะนำว่าไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหมมากจนเกินไป
  3. เอนกาย
    การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง อีกทั้งยังช่วย ฟื้นฟูร่างกายจากการบาดเจ็บหรือการไม่สบายได้อีกด้วย แนะนำให้นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 6 ถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน มีหลากหลายวิธีที่สามารถช่วยให้นอนหลับได้ดีและสนิทยิ่งขึ้น อาทิ การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน หลังบ่าย 2 โมง การหลีกเลี่ยงการมองแสงฟ้าจากหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือก่อนนอน การลดความเครียด หรือการ รับประทานวิตามินอาหารเสริมที่สามารถช่วยเรื่องการนอนหลับเช่น แม็กนิเซียม หรือโสมอินเดีย
  4. อารมณ์
    ปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้ปัจจัยที่กล่าวมาแล้วคือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ จากการวิจัยพบว่าฮอร์โมนแห่งความเครียด หรือฮอร์โมนคอร์ทิซอลหลั่งออกมา ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น หายใจเร็วขึ้นและสั้นลง ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อม ให้กับร่างกายในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามถ้าหากฮอร์โมนแห่งความเครียดถูกหลั่ง ออกมาต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานก็สามารถทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลงได้ อีกทั้งยังสามารถส่งผลเสียต่อร่างกาย ในหลายๆด้านไม่ว่าจะเป็นการปวดหัว การนอนไม่หลับ ความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ฮอร์โมนไม่สมดุล ปวดกล้ามเนื้อ หรือปวดท้อง แนะนำว่าควรจะทำจิตใจให้ผ่อนคลาย บริโภคข่าวสารเฉพาะที่จำเป็น หรือหากิจกรรมที่ช่วยให้รู้สึก ผ่อนคลายมากขึ้น อาทิการฟังเพลงหรืออ่านหนังสือ
  5. อากาศ
    เพื่อให้ปอดของเราแข็งแรงอยู่เสมอควรหลีกเลี่ยงแหล่งมลพิษต่างๆ พยายามสูดอากาศบริสุทธิ์ หายใจเข้าออกให้ลึก และยาว นอกจากจะช่วยให้ปอดแข็งแรงขึ้นแล้วยังสามารถช่วยให้รู้สึกสดชื่นมากขึ้นเนื่องจากออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง เพียงพอยังช่วยลดความเครียดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงหรืองดสูบบุหรี่ จากการวิจัยพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่หรือเคยมีประวัติสูบบุหรี่มีความเสี่ยงในการมีภาวะแทรกซ้อนจากโควิด 19 มากกว่าผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่ถึง 14 เท่า
  6. เอาพิษออก
    การขับถ่ายที่เป็นไปอย่างปกติถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สามารถช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกายได้อย่างดี เนื่องจาก กว่าร้อยละ 70 ของระบบภูมิคุ้มกันอยู่ที่ผนังลำไส้ ดังนั้นเพื่อให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การขจัดของ เสียของร่างกายควรเป็นไปอย่างปกติ ซึ่งมีหลากหลายวิธีที่เราสามารถช่วยให้เรามีสุขภาพลำไส้ที่แข็งแรง อาทิ การ รับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติก เช่น โยเกิร์ตธรรมชาติ คอมบูชา มิโซะ กิมจิ หรือเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์อาหาร เสริมโปรไบโอติกก็สามารถช่วยได้เช่นกัน นอกจากนี้แนะนำว่าควรดื่มน้ำเปล่าและอาหารที่มีไฟเบอร์ให้เพียงพอ ในแต่ละวันเพื่อช่วยให้ขับถ่ายได้ดีขึ้น
  7. อาชีพ
    เพื่อให้จิตใจเราสงบและไม่เครียด อีกปัจจัยที่ควรคำนึงถึงคือเรื่องของอาชีพ ควรจะทำอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง ไม่เบียด เบียนผู้อื่น ประกอบอาชีพที่ไม่ทำให้เสียสุขภาพให้เหมาะกับร่างกายและจิตใจของตนเอง สำหรับผู้ที่ทำงานจากที่บ้าน ควรแบ่งเวลาพักผ่อนระหว่างวันเพื่อยืดเส้นยืดสายและคลายความเครียด สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพบริการควรคำนึงถึง ความปลอดภัยของทั้งตัวเองและผู้อื่นอยู่เสมอ
  8. อิทธิบาท 4
    ปัจจัยสุดท้ายที่ควรนำไปปฏิบัติคือ หลักอิทธิบาท 4 อันประกอบไปด้วย ฉันทะ หรือ ความพอดีความพอใจ วิริยะ หรือ ความขยัน จิตตะ หรือความตั้งมั่น และ วิมังสา หรือการหมั่นนึกตรึกตรอง สำหรับฉันทะนั้น ในยุคของโควิดแสดงให้เห็นว่า การยังมีชีวิตอยู่และการมีร่างกายที่แข็งแรงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สำหรับวิริยะนั้น การมีสุขภาพที่แข็งแรงนั้น หมายถึงต้อง หมั่นดูแลร่างกายตนเองและมีวินัยอยู่เสมอ สำหรับจิตตะ เราควรตั้งมั่นในการดูแลสุขภาพของตัวเองและปฏิบัติตัวตาม มาตรการการป้องกันการแพร่เชื้ออย่างเคร่งครัด และสำหรับวิมังสา เราควรหมั่นสังเกตุสุขภาพของตัวเองอยู่เสมอเพื่อที่จะ ได้ทราบว่าพฤติกรรมที่เราทำในแต่ละวันนั้นส่งผลดีต่อสุขภาพหรือไม่ ถ้าหากยังไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพก็ควรปรับเปลี่ยน พฤติกรรมให้ดียิ่งขึ้น

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *