ฝ้า กระ และจุดด่างดําเป็นปัญหาผิวที่หลายคนต้องเผชิญ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่ต้องสัมผัสกับแสงแดดเป็นประจําหรือมีผิวที่ไวต่อแสงแดด และการกระตุ้นของฮอร์โมน ลักษณะของปัญหาแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันออกไป ทั้งในเรื่องของสาเหตุ ลักษณะทางกายภาพ และการดูแลผิวหน้า ฝ้ามักเป็นรอยสีน้ําตาลหรือสีเทาอ่อนบนใบหน้า โดยเฉพาะบริเวณโหนกแก้ม หน้าผาก และจมูก สาเหตุเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ในช่วงตั้งครรภ์หรือการใช้ยาคุมกําเนิด ส่วนกระจะมีลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ สีน้ําตาลที่เกิดจากการสะสมของเม็ดสีในผิวหนัง มักพบในคนที่มีผิวบางหรือผิวขาว และจะเข้มขึ้นเมื่อสัมผัสแสงแดด ส่วนจุดด่างดําเกิดจากการสะสมเม็ดสีเมลานินมากเกินไปในบริเวณผิวที่เคยเกิดการอักเสบ เช่น รอยสิว หรือแผลเป็น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นผลมาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นแสงแดด ฮอร์โมน มลภาวะ หรือการดูแลผิวที่ไม่เหมาะสมนั่นเอง
ฝ้า (Melasma) มีลักษณะของรอยสีน้ําตาลจนไปถึงสีเทาและเป็นแผ่นปื้น มักขึ้นบริเวณโหนกแก้ม หน้าผาก และคาง
เกิดจากการเพิ่มขึ้นของเม็ดสีเมลานินในชั้นผิวหนัง ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้หญิง และมีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกาย
กระ (Freckles) มีลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ กระจายกันออกไป สีน้ําตาลอ่อนจนไปถึงสีน้ําตาลเข้ม มีทั้งแบบเรียบและแบบตุ่มนูน มักพบในคนที่มีผิวขาวหรือผิวบาง ตามบริเวณหน้าผาก แก้ม และลําคอ
จุดด่างด (Dark Spots) มีลักษณะเป็นจุดสีเข้ม จุดด่างดําเกิดจากการสะสมของเม็ดสีเมลานินในชั้นผิว ซึ่งอาจเกิดจากแสงแดดที่มากระตุ้นให้สีเข้มขึ้น รอยบีบสิว หรือการเสื่อมสภาพของผิวตามอายุ
ประเภทของ “ฝ้า”
- ฝ้าตื้น (Epidermal Melasma)
- ลักษณะ
◦ มีสีน้ําตาลอ่อนหรือสีเข้ม เห็นขอบได้ชัดเจน
◦ อยู่ในชั้นหนังกําพร้า (ชั้นตื้นที่สุดของผิว)
◦ มักพบในบริเวณใบหน้า เช่น โหนกแก้ม หน้าผาก และจมูก - สาเหตุ
◦ เกิดจากแสงแดด และการกระตุ้นของเมลานินในชั้นหนังกําพร้า
- ฝ้าลึก (Dermal Melasma)
- ลักษณะ
◦ มีสีเทาหรือสีเทาเข้ม
◦ เม็ดสีอยู่ในชั้นหนังแท้ (ชั้นผิวลึก)
◦ เห็นขอบไม่ชัดเจนและรักษาได้ยากกว่าฝ้าแบบตื้น - สาเหตุ:
◦ เกิดจากเม็ดสีเมลานินที่ฝังตัวลึกในชั้นหนังแท้
◦ เกิดจากกระตุ้นของแสงแดด หรือการอักเสบของผิวหนัง
- ฝ้าผสม (Mixed Melasma)
- ลักษณะ
◦ มีลักษณะทั้งฝ้าตื้นและฝ้าลึกในบริเวณเดียวกัน
◦ สีของฝ้ามีตั้งแต่สีน้ําตาลจนถึงสีเทาเข้ม - สาเหตุ:
◦ เกิดจากการรวมตัวของเม็ดสีในทั้งชั้นหนังกําพร้าและหนังแท้
◦ แสงแดดและฮอร์โมนเป็นปัจจัยกระตุ้นหลัก
ประเภทของ “ฝ้า”
- ฝ้าฮอร์โมน (Hormonal Melasma)
- ลักษณะ
◦ มีสีน้ําตาลอ่อนไปถึงสีนํา้ตาลเข้ม
◦ มักพบในบริเวณโหนกแก้ม หน้าผาก และเหนือริมฝีปาก - สาเหตุ
◦ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายของ
เพศหญิง เช่น การตั้งครรภ์ การใช้ยาคุมกําเนิด หรือการ
ใช้ยาบางชนิด
- ฝ้าเลือด (Vascular Melasma)
- ลักษณะ
◦ มีสีแดงอมม่วงหรือสีคล้ เนื่องจากการไหลเวียนเลือด
ผิดปกติในชั้นผิว
◦ มักพบร่วมกับฝ้าตื้นหรือฝ้าลึก - สาเหตุ
◦ เกิดจากการทํางานผิดปกติของเส้นเลือดฝอยใต้ผิวหนัง
ขยายตัวหรือเสื่อมสภาพจนไม่สามารถกักเก็บเลือดได้
ทําให้เส้นเลือกฝอยแตก
◦ แสงแดดและฮอร์โมนมีส่วนกระตุ้นให้ฝ้าเลือดชัดเจน
มากขึ้น
ประเภทของ “กระ”
กระตื้น
- ลักษณะ
◦ มีลักษณะเป็นจุดสีน้ําตาลอ่อนเล็กๆ
◦ มักเกิดบนใบหน้า ลําคอ แขน หรือส่วนของร่างกายที่สัมผัสแสงแดดบ่อย ๆ
◦ จุดสีอาจเข้มขึ้นเมื่อถูกแสงแดด และจางลงเมื่อหลีกเลี่ยงแสงแดด - สาเหตุ
◦ แสงแดดเป็นปัจจัยหลัก โดยเฉพาะรังสี UVA และ UVB
◦ เกิดจากการสะสมเมลานินในผิวหนังชั้นตื้น
◦ เกิดจากพันธุกรรม มักพบในคนที่มีผิวขาวหรือผิวบาง
กระลึก
- ลักษณะ
◦ มีลักษณะเป็นจุดสีน้ําตาลเข้ม ด หรือเทา มีขนาดใหญ่กว่ากระตื้น
◦ มักอยู่ในผิวหนังชั้นลึก (ชั้นหนังแท้)
◦ มักพบที่โหนกแก้มทั้งสองข้าง - สาเหตุ
◦ แสงแดดเป็นปัจจัยหลัก โดยเฉพาะรังสี UVA และ UVB
◦ อนุมูลอิสระที่เกิดจากแสงแดดและมลภาวะ ทําให้ผิวเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ส่งผลให้กระลึกเด่นชัดมากขึ้น
กระเนื้อ
- ลักษณะ
◦ มีลักษณะเป็นตุ่มหรือปื้นนูนขึ้นมาจากผิวหนัง มีสีน้ําตาล ด หรือเทา
◦ ผิวสัมผัสอาจหยาบหรือขรุขระเล็กน้อยเป็นตุ่มหรือปื้นที่ยกตัวขึ้นจากผิวหนัง - สาเหตุ
◦ เกิดจากพันธุกรรม
◦ อายุที่มากขึ้น มักพบในผู้สูงอายุ
กระแดด
- ลักษณะ
◦ มีลักษณะเป็นดวงสีน้ําตาล ผิวเรียบเนียน
◦ มักพบในบริเวณที่สัมผัสแสงแดดเป็นประจ เช่น ใบหน้า มือ แขน และหลัง
◦ มีขนาดใหญ่กว่ากระตื้น และมีลักษณะเรียบเนียนไปกับผิวหนัง ไม่ขรุขระ - สาเหตุ
◦ แสงแดดเป็นปัจจัยหลัก โดยเฉพาะรังสี UVA และ UVB
◦ เกิดจากการสะสมของเม็ดสีเมลานินในบริเวณที่ถูกแสงแดดอย่างต่อเนื่อง
◦ มักพบในผู้ที่อายุมากขึ้น หรือผู้ที่ไม่ป้องกันผิวจากแสงแดด
จุดด่างด (Dark Spots) หรือที่เรียกกันว่า รอยด เป็นปัญหาผิวหนังที่เกิดจากการสะสมของเม็ดสีเมลานินในชั้นผิวหนังมากเกินไป มีลักษณะเป็นจุดสีเข้มกว่าสีผิวปกติ เช่น สีน้ําตาล เทา หรือด จุดด่างดํามักพบได้ในบริเวณบนใบหน้า ลําคอ แขน หรือส่วนของร่างกายที่สัมผัสแสงแดดบ่อย ๆ
จุดด่างดําเกิดจากอะไร ?
แสงแดด (Sun Exposure)
◦ แสงแดดเป็นปัจจัยกระตุ้นหลัก รังสี UVA และ UVB ทําให้เซลล์เม็ดสีในผิว (Melanocytes) ผลิตเมลานินมากขึ้นเพื่อปกป้องผิวจากการถูกทําลาย
◦ การสัมผัสแสงแดดโดยตรง ทําให้เมลานินสะสมและเกิดจุดด่างดําในบริเวณที่สัมผัสแสงแดดบ่อย เช่น บนใบหน้า และแขน
ฮอร์โมน (Hormonal)
◦ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย เช่น ระหว่างตั้งครรภ์ หรือการใช้ยาคุมกําเนิด สามารถกระตุ้นการ
ผลิตเม็ดสีในผิวเพิ่มขึ้น ทําให้เกิดฝ้าและจุดด่างด
รอยแผลเป็นจากสิว (Post-Inflammatory Hyperpigmentation – PIH)
◦ เมื่อสิวอักเสบหรือเกิดการระคายเคืองในผิวหนัง เช่น จากการบีบสิว หรือรอยแผลจากการอักเสบ ผิวหนังจะผลิตเมลานินเพิ่มขึ้นในบริเวณนั้น ส่งผลให้เกิดจุดด่างดําที่มักคงอยู่เป็นเวลานาน